พระธาตุดอยตุง เชียงราย

       มาถึงจ.เชียงรายทั้งทีสิ่งที่ไม่ควรพลาดคือการไปไหว้พระธาตุดอยดุง (พระธาตุประจำปีเกิด ปีกุน)
ก่อนอื่นเราดูประวัติย่อๆของพระธาตุดอยตุงกันก่อน หลังจากนั้นจะมีภาพมาฝากกัน....
           
          พระธาตุดอยตุง นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระมหากัสสะปะเถระ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้อาราธนาอัญเชิญเอายังพระบรมสารีริกธาตุกระดูกไหปลาร้า (พระรากขวัญเบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า มามอบถวายแด่พระเจ้าอุชุตราชเจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี  รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวติ เป็นประธาน พร้อมด้วยมุขมนตรีเสวกอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์  ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดิน  แดง (คือดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๔๕๔ ต่อมาอีก  ๑๐๐ ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาวชิรโพธิเถร ได้นำ เอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบถวายให้พระเจ้ามังรายะนะธิราช แล้วจึงได้พร้อมใจกันนำเอาพระบรมธาตุขึ้นบรรจุสร้างใหม่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่งบนดอยตุง พร้อมได้ปฏิสังขรณ์องค์เดิม จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานรายนามผู้บูรณะปฏิสังขรณ์ ลุถึง  พ.ศ.๒๔๗๐ ครูบาศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งลำพูนพร้อมด้วย คณะศรัทธาชาวพุทธได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ พระวิหาร พระประธาน กาลเวลาผ่านพ้นมานานวิหารและพระประธานก็ถูกภัยธรรมชาติครอบงำชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ส่วนองค์พระเจดีย์นั้นยังมีรูปทรงปกติดีอยู่ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๙ ได้มีอุบาสิกาผู้หนึ่งอยู่ในจังหวัดพะเยา ชื่อว่า นางทองคำ ฮั้นตระกูล ได้มีกุศลเจตนาอันยิ่งใหญ่ ทำการลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้ง  ๒ องค์ ให้เหลืองอร่ามไปทั่ว

        ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ องค์สรภาณมธุรส(บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมานัมบริหาร กทม. พร้อมด้วยอุบาสิกา ทองคำ ฮั้นตระกูล ได้ทำการก่อสร้างอุโสถขึ้นหนึ่งหลังพร้อมทั้งพระประธานในอุโบสถ พระสาวก หมอชีวกโกมารภัจ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ก็ได้มีการดำริในการที่จะบูรณะองค์พระธาตุดอยตุงครั้งใหญ่ ซึ่งได้ใช้เวลาเตรียมการและหาทุนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี ถึง พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๖ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จไป ๑ องค์ พระธาตุ ๒ วิหารหลวงที่ประดิษฐานพระประธานสิงห์หนึ่งเชียงแสน ๓  พระประธานสิงห์หนึ่ง ซึ่งได้กราบทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาเป็นองค์เททอง

         ในการบูรณะครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์กันใหม่ ออกแบบโดยอาจารย์ประกิต(จิตร์) บัวบุศน์ องค์พระเจดีย์บุ ด้วยกระเบื้องโมเสดสีทอง มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๘ ซุ้ม มีฉัตรประดับทั้ง ๔ มุมดังที่เห็นปรากฎวันนี้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.  ๒๕๒๕ ได้มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ ไศลยนต์ ศรีสมุทร์ เจ้าของและผู้จัดการตลาดแม่สาย ได้มีกุศลเจตนาอันแรงกล้า ได้ทำการเทลานพระธาตุและพร้อมกันนั้นทางวัดก็ได้ทำการก่อสร้างรั้วรอบบริเวณลานพระธาตุอีกโสดหนึ่ง

คำไหว้พระธาตุดอยตุง :
                      นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ....(สามจบ)
                      พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรัง มะหาคะมา
                      นะมามิหัง อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ(สามจบ)

 ภาพทางขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยตุง (เดินได้แบบชิวๆ ไม่ไกลมาก)

(ข้อคิดดีๆ)

พระธาตุดอยตุง

 พระธาตุดอยตุง



ด้านข้างของโบสถ์ 



ด้านหน้าของโบสถ์